ไม่ขอรับเกียรติยศใด ๆ ทั้งสิ้น ๙๕ ปี ๔ เดือน ๙ วัน พูนศุข พนมยงค์
ชื่อหนังสือ : ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น ๙๕ ปี ๔ เดือน ๙ วัน พูนศุข พนมยงค์
จำนวนหน้า : 423 หน้า
ราคาเล่มละ : 300 บาท
รายละเอียดเนื้อหา :
ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น ๙๕ ปี ๔ เดือน ๙ วัน พูนศุข พนมยงค์ ได้รวบรวมข้อเขียนบอกเล่าชีวิตอันยาวนานของท่านผู้หญิงฯ ที่ได้ประสบ รู้เห็น รู้สึก และผจญกรรม ท่ามกลางคลื่นลมที่โหมกระหน่ำลูกแล้วลูกเล่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย และยังได้รวบรวมจดหมายบางฉบับระหว่างนายปรีดีกับท่านผู้หญิงฯ ไว้ในหนังสือเล่มนี้
ท่านผู้หญิงฯ ค่อยๆ เล่าเรื่องราวชีวิตผ่านตัวหนังสืออันสวยงามทีละหน้า ทีละหน้า โดยมีภาพประกอบที่ใช้ชื่อว่า “ภาพชีวิต 8 รอบนักษัตร” รวบรวมทุกเส้นทางในชีวิตตั้งแต่ลืมตาดูโลก ผ่านพ้นวัยเด็ก จนเรียนหนังสือ ย่างเข้าวัยเยาว์ วันเวลาได้นำพาให้มาพบความรักกับนายปรีดี พนมยงค์ แต่งงาน ให้กำเนิดบุตรและธิดา จนเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ อีกทั้งยังเล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่ท่านผู้หญิงฯ ได้ประสบพบเจอ ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ ในบางเรื่องที่เราอ่าน สามารถรู้ได้เลยว่าในขณะเขียนท่านกำลังมีความสุข เพราะความรู้สึกนั้นส่งผ่านมาทางตัวหนังสือให้ผู้อ่านได้อิ่มเอม และเกิดรอยยิ้มตามไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน กับทุกเหตุการณ์ที่ต้องสูญเสีย จนเกิดความหดหู่ เรายังสามารถรับรู้ถึงความเข้มแข็งของสตรีท่านนี้ได้เช่นกัน
ไม่เพียงแต่เรื่องราวที่เล่าขานเท่านั้น ท่านผู้หญิงฯ ยังมีหลักคิด หลักธรรมในการดำเนินชีวิตอยู่หลายข้อ ที่ผู้อ่านยังสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตัวเองได้อย่างดีเยี่ยม
“ฉันไม่ได้คิดว่าตัวเองมีความเข้มแข็งเป็นพิเศษ ถ้าคนอื่นๆ เจอเรื่องราวต่างๆ เหมือนฉันก็คงอดทนและเข้มแข็งเหมือนกัน ... นายปรีดีกับฉัน ยึดหลักธรรมที่ว่า ผลของการที่ก่อสร้างไว้ดีแล้ว ย่อมไม่สูญหาย เราพยายามทำความดี ความประพฤติปฏิบัติของเรา แน่วแน่อยู่ในธรรมะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะไม่ประพฤติผิด เราไม่เอา เราไม่ทำ”
บางช่วงบางตอนจากหนังสือหน้า 399
สารบัญ :
ภาพชีวิต 8 รอบนักษัตร : ลิขิตชีวิต ลิขิตประสบการณ์
- ชีวิต 84 ปี เท่าที่จำได้
- เมื่อข้าพเจ้าเข้าเฝ้า สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ และสมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ
- ร.ร. เซนโยเซฟคอนแวนต์กับข้าพเจ้า
- เพื่อนร่วมชั้นข้าพเจ้าชื่อ...จำกัด พลางกูร ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ฯลฯ
- ระหกระเหินจากบ้านเกิดครั้งที่ 1
- ชีวิตข้าพเจ้าในยามสงครามและสันติภาพ
- เล่าให้ลูกหลานฟัง
- รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490
- ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์ 2492
- เมื่อข้าพเจ้าถูกกล่าวหาว่าเป็น “กบฏ”
- ชีวิตของลูกปาล
- ระหกระเหินจากบ้านครั้งที่ 2
- รำลึกถึงความหลัง
- ตรุษสงกรานต์
- ย้อนรอยถนนสีลม
ความนึกคิดเนื่องในวันปรีดี- 11 พฤษภาคม : สุนทรพจน์และสาร : บทสัมภาษณ์
- ช่วงหนึ่งแห่งชีวิต ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์
- ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ในบทบาทแม่
- ผลของการก่อสร้างไว้ดีแล้ว ย่อมไม่สูญหาย
- ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ กับคำบอกถึงอดีตในวันนี้
จดหมายจากปรีดี ถึงพูนศุข
ธรรมดา |